ขั้นตอนการทำงานวางระบบท่อปลวก
1. ศึกษาวางแผนออกแบบการวางระบบท่อปลวก ตามแปลนแบบก่อนสร้างในส่วนของแปลนคานคอดินของอาคารที่จะติดตั้งท่อปลวกอย่างละเอียด เพื่อวางแผนในการเดินแนวท่อปลวกของแต่ละห้องตามแนวคานคอดิน และวางแผนกำหนดตำแหน่งติดตั้งของหัวส่งจ่ายน้ำยาแต่ละหัวให้ได้มาตรฐานของขนาดพื้นที่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเมื่ออัดน้ำยาลงท่อแล้ว น้ำยาจะสามารถกระจายแรงได้ดีและทั่วถึง *ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ หากมีการวางแผนไม่ การวางท่อปลวกของแต่ละห้องยาวเกินไปไม่พอดีสัดส่วนของแต่ละห้อง หรือมี ข้อต่อ มากเกินไป อาจทำให้แรงส่งเมื่อัดน้ำยาปลวก น้ำยาจะกระจายผ่านตามท่อไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ
2. เดินท่อปลวกตามแนวคานคอดิน ตามที่ได้วางแผนวางไว้ด้วยท่อที่มีคุณภาพทนต่อสารเคมี พร้อมยึดติดท่อกับคานให้แข็งแรงด้วย Clamp รัดท่อ
3. เมื่อทำการเดินท่อปลวกเรียบร้อยแล้ว จะทำการติดตั้งหัวปล่อยน้ำยา หรือ หัวสปริงเกอร์ ทุกระยะ 100 – 130 เซนติเมตร เพื่อการกระจายของน้ำยาได้ทั่วถึง
4. ทดสอบการไหลออกของหัวปล่อยน้ำยา หรือ หัวสปริงเกอร์ โดยขั้นตอนนี้ “จะใช้แค่น้ำเปล่าที่ยังไม่ผสมน้ำยา” อัดลงท่อเพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพว่าหัวกระจายน้ำยาไม่มีการอุดตัน และสามารถกระจายไหลออกได้ดี
5. ฉีดพรมน้ำยาเคลือบผิวดินด้วยเครื่องอัดน้ำยาแรงดันสูง ทั่วทั้งบริเวณหน้าดิน เพื่อเป็นการป้องกันปลวก
การวางท่อกำจัดปลวกก่อนสร้างบ้านหรืออาคาร เป็นระบบการวางท่อเพื่ออัดสารเคมีผ่านแนวคานคอ
ช่วยป้องกันการคุกคามของปลวกทั้งจากภายในและภายนอกสถานที่ได้อย่างทั่วถึง
การอัดน้ำยายังสามารถทำผ่านหัวจ่ายที่อยู่นอกตัวอาคาร
ทำให้รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยและไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง
ระบบ วางท่อปลวก ถือเป็นการวางแนวทางการป้องกันปลวกใต้ดินที่จะขึ้นจากพื้นดินสู่ภายในตัวอาคาร
เมื่ออัดน้ำยาผ่านเข้าท่อปลวก น้ำยาจะกระจายตามหัวปล่อยน้ำยา หรือ หัวสปริงเกอร์
ครอบคลุมเต็มพื้นที่ของใต้พื้นดินอาคาร ทำให้สามารถลดความเสี่ยงการบุกรุกของปลวกที่เข้ามาในอาคารได
การวางระบบท่อปลวกควรเริ่มทำตอนไหน?
การวางระบบท่อปลวกนี้ ควรเริ่มทำตั้งแต่อาคารที่กำลังก่อสร้าง
หรือช่วงที่ดำเนินการเทคอนกรีตคานคอดินเรียบร้อยแล้ว เพราะการติดตั้งท่อปลวกนั้น
จะต้องเดินท่อตามแนวคานคอดิน ด้วยท่อที่ทนต่อสารเคมี และติดตั้งหัวปล่อยน้ำยา หรือหัวสปริงเกอร์ทุกระยะ ตามแนวของท่อที่ติดตั้งไว้
ปลวก เป็นแมลงที่จัดได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงให้แก่ บ้าน อาคาร รวมถึงวัสดุข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ
เนื่องจากปลวกเป็นแมลงที่ต้องการอาหารในการดำรงชีวิต ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหาร
ข้อดีสำหรับการวางระบบท่อปลวก
1. ไม่ต้องทำการเจาะพื้นบ้าน อาคาร เพื่ออัดน้ำยาลงดิน จึงทำให้พื้นอาคารสวย ๆ ไม่เกิดความเสียหาย ไม่มีตำหนิ
2. ไม่ต้องยุ่งยากในการขนย้าย ข้าวของเครื่องใช้ หากต้องเจาะพื้นบริเวณนั้น ในการอัดน้ำยาลงดิน
3. ไม่ต้องทนรบกวนกับกลิ่นของน้ำยาภายในอาคาร
4. ไม่มีต้องสัมผัสกับน้ำยาที่อาจปนเปื้อนภายในอาคาร
5. น้ำยาที่อัดตามท่อปลวกสามารถกระจายน้ำยาได้ดีและทั่วถึงกว่า การเจาะพื้นอาคารเพื่ออัดน้ำยา